การขุดดินและถมดินอย่างไรถึงจะไม่ผิดกฎหมาย
การขุดดิน ถมดินเท่าใดจึงจะถือว่ามีการขุดดินที่ต้องแจ้งตามกฎหมาย
-มีการขุดดินความลึกเกิน 3.00 เมตร
-มีการขุดดินที่มีพื้นที่ปากบ่อเกิน 10,000 ตารางเมตร หรือ 6 ไร่ 1 งาน
-มีการขุดดินความลึกเกินหรือพื้นที่ปากบ่อเกินตาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
-มีการถมดินสูงกว่าที่ดินข้างเคียงและพื้นที่มากกว่า 2,000 ตารางเมตร หรือ 1 ไร่ 1 งาน
- หรือพื้นที่เนินดินตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด(ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น)
ข้อยกเว้นการบังคับใช้ พรบ.
-ขุดบ่อน้ำ พื้นที่ปากบ่อไม่เกิน 4 ตร.ม. ไม่ต้องแจ้ง
-มิให้บังคับใช้การขุดดินถมดินที่มีกฎหมายอื่นควบคุมอยู่แล้ว
-การทำฐานรากอาคาร การทำกำแพงกันดิน
-การขุดคลองของกรมชลประทานและหน่วยงานของรัฐ
-ถ้าขุดพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่าทาง เศรษฐกิจ ให้หยุดขุดแล้วแจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายใน 7 วัน เพื่อแจ้งกรมศิลปกรหรือกรมทรัพย์ (ม.25)
-ขุดดินลึกน้อยกว่า 3.00 เมตร ใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่า 2 เท่า ของความลึกต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดิน (ม.25)
การถมดินเท่าใดจึงจะถือว่ามีการถมดินแต่ไม่ต้องแจ้งตามกฎหมาย
-มีการถมดินสูงกว่าที่ดินข้างเคียงและพื้นที่น้อยกว่า 2,000 ตารางเมตร หรือ 1 ไร่ 1 งาน (ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น)
บทลงโทษ
- ขุดดินและถมดินโดยไม่มีใบรับแจ้ง (ม.35) จำคุก 1 ปี ปรับ 50,000 บาท ถ้าอยู่ในบริเวณห้ามขุดห้ามถมโทษจำคุกและปรับจะเป็น 2 เท่า
-ขุดดินและถมดินโดยไม่เป็นไปตามกฎกระทรวง (ม.36) ปรับ 30,000 บาท หรือปรับรายวันละ 1,000 บาท
-ถมดินไม่ทำรางระบายน้ำ (ม.26วรรคหนึ่ง) ปรับ 10,000 บาท
-ขัดขวางพนักงานเจ้าหน้าที่ (ม.38)ปับ 2,000 บาท
-ถ้าขุดพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่าเศรษฐกิจ ให้หยุดขุดแล้วแจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายใน 7 วัน (ม.39) จำคุก 1 เดือน ปรับ 5,000 บาท
-ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งหยุดขุดดินและถมดิน (ม.40) จำคุก 1 ปี รับ 5,000 บาท
-ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้จัดการป้องกันการแก้ไขการพังทลาย ขุดดินและถมดิน (ม.41) ปรับ 30,000 บาท หรือปรับรายวัน 500 บาท
การขออนุญาตขุดดินและขุดดินถมดิน
หลักฐานในการขออนุญาตขุดดินถมดิน
-แผนผังบริเวณที่จะทำการขุดดิน ถมดิน และแผนผังบริเวณแสดงเขตที่ดินและที่ดินบริเวณข้างเคียงพร้อมทั้งวิธีการขุดดินหรือถมดิน
-สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมของจริง
-สำเนาหรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีแจ้งเป็นนิติบุคคล)
-สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้จัดการหรือผู้แทนนิติบุคคล
-หนังสือมอบอำนาจ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
-หนังสือมอบอำนาจ สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีมีการมอบอำนาจให้แก่ผู้อื่นแจ้งแทน)
-รายการคำนวณ
-หนังสือรับรองว่าเป็นผู้ออกแบบและคำนวณการขุดดิน/ถมดิน พร้อมสำเนาบัตรอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (กรณีที่งานมีลักษณะขนาดอยู่ในประเภทวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม)
-สำเนาโฉนดที่ดิน เลขที่/น.ส.3เลขที่/สค.1ที่จะทำการขุดดิน/ถมดิน ถ่ายสำเนาฉบับจริง
-หนังสือยินยอมของเจ้าของที่ดิน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้าน
-หนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงานตามข้อ 3
-สำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของผู้ควบคุม (เฉพาะกรณีที่งานมีลักษณะขนาดอยู่ในประเภทวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม)
-เอกสารรายละเอียดอื่นๆ
ขั้นตอนการขออนุญาตขุดดิน/ถมดิน
-ขอรับคำขออนุญาตจากกองช่าง
-นำเอกสารตามหลักฐานยื่นประกอบคำขออนุญาต
-นำเจ้าหน้าที่ออกตรวจสถานที่
-เจ้าหน้าที่ตรวจสอบหลักฐาน
-ออกใบอนุญาต
-ผู้ยื่นคำขออนุญาตชำระค่าธรรมเนียม
ระยะเวลาในการออกใบอนุญาตขุดดิน/ถมดิน
-ขั้นตอนในการตรวจสถานที่ขุดดิน/ถมดิน ระยะเวลา 1 วัน
-ขั้นตอนในการตรวจสอบเอกสาร หลักฐานต่างๆ ในการพิจารณาใบอนุญาต ระยะเวลา 2 วัน
-ขั้นตอนในการตรวจสอบแบบแปลน ระยะเวลา 1 วัน
-ขั้นตอนในการออกใบอนุญาต ระยะเวลา 1 วัน
-รวมระยะเวลาในการพิจารณาออกใบอนุญาตรวม 5 วัน
ค่าธรรมเนียมในการขออนุญาตขุดดิน/ถมดิน
-ใบรับแจ้งการขุดดิน/ถมดิน ฉบับละ 500 บาท
-ค่าธรรมเนียมคัดเอกสารฉบับละ 1 บาท
หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ : กองช่าง องค์การบริหารส่วนตำบลคำโตนด โทรศัพท์ 0-37218-836 ต่อ 106 |